วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สื่อการสอนวิทยาศาตร์ (Teaching Science)







อุปกรณ์
1 ผงดินวิทย์ Aqua crystal gel 
2 ผงสีผสมอาหาร เลือกสีตามต้องการ
3 เติมน้ำประมาณ 1 ลิตร
4 ภาชนะที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร

วิธีทำ
1 เทผงดินวิทย์ Aqua crystal gel ลงในภาชนะ
2 เทผงสีผสมอาหาร เลือกสีตามต้องการ
3 เติมน้ำประมาณ 1 ลิตร
4 ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ข้่วโมง
5 รินน้ำออก ก็จะได้ดินวิทย์ 1 สี ต้องการสีอื่นทำเพิ่มใหม่

ประโยชน์ของดินวิทยาศาสตร์ Magic crystal soil 

1.เพื่อปลูกต้นไม้ 

2.จัดแจกันดอกไม้ เพื่อยืดอายุดอกไม้ให้อยู่ได้นานขึ้น 

3.ทำเป็นเจลน้ำหอม ใช้ได้ทั้งในรถ ในบ้าน ห้องที่ทำงาน ห้องน้ำ 

4.นำไปตกแต่งสถานที่ เพียงแค่ท่านปักเทียนหรือเทียนหอมแบบถ้วยลงในแก้วหรือถ้วยที่บรรจุดินคริสตัลเรียบร้อยแล้ว 

5.ตกแต่งตู้ปลา อาจจะใช้แทนทรายที่ท่านเห็นอยู่ทั่วไป 

6.ตกแต่งสวนแบบถาดเล็กๆ หรือน้ำตกจำลองเล็กๆก็ได้ 

7.ป้องกันยุงไข่ในน้ำได้ด้วย
เจลดินคริสตัล คือ สารโพลิเมอร์ดูดซับยิ่งยวด (super absorbent polymer - SAP) ประกอบด้วยสาร 2 ชนิดคือ สารโพลิอะคริลามีด (polyacrylamide) และสารไวนิลอะซีเตด-เอทิลีนโคโพลิเมอร์ (vinylacetate-ethylene copolymer) สารโพลิอะคริลามีดเป็นโพลิเมอร์ที่มีสมบัติของการดูดซับน้ำไว้ในโมเลกุลได้เป็นจำนวนมาก ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า สารสามารถดูดซับน้ำกลั่นในปริมาณมากกว่าน้ำหนักโพลิเมอร์ถึง 800 เท่า



งานวิจัย ( RESEARCH REPORT )






          ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้ (Basic Science Process Skills of Early Childhood Received from Using ProjectApproach and Inquiry Methods)


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ 
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  
3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling) คือ 

ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น จํานวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จํานวนเด็กปฐมวัย 22 คน 
ขั้นที่ 2สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น เป็นกลุ่มที่1 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 
1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 
3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
สถิติการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ไม่แตกต่างกัน 

คําสําคัญ: ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน, การเรียนรู้แบบโครงการ, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 



บทความวิทยาศาสตร์ (Science articles)






ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรองอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชระดับ: อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
      

               การสอนลูกเรื่องฤดุกาล ( Teaching Children about Seasons ) หมายถึง  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การเเบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตาามสภาพอากาศ ในเเต่ละฤดูจะมีสภาพอากาศที่เเตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่ของอากาศในเเต่ละภูมิภาคเป็นช่วงฤดูกาลเเตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมี 3 ฤดูกาล คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ภาคใต้ของประเทศไทยจะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูฝน ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึงควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับธรรมชาติ การสอนเด็กให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม จึงถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริงในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกเเบบให้ตรงตามความสนใจของเด็ก รวมทั้งพ่อเเม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้เเก่ลูกเรื่องฤดูกาลเช่นกัน

 การสอนเรื่องฤดูกาลสำคัญอย่างไร 
สอนเรื่องฤดูกาลที่เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับคนเราเสมอ จึงควรสอนความรู้ให้เเก่เด็ก
การเรียนเรื่องใดๆเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างคิด ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ควรปลูกฝังให้เเก่เด็กปฐมวัย
นิสัยของเด็กปฐมวัยจะชอบสำรวจธรรมชาติ ดังนั้น การเรียนเรื่องฤดูกาลเป็นการตอบสนองความสนใจให้เเก่เด็ก
  การสอนเรื่องฤดูกาลมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร 
เด็กจะมีความเข้าใจเรื่องของธรรมชาติของฤดูกาล ได้เเก่เหตุที่เกิดและเปลี่ยนแปลงในช่วงปีฤดูกาลที่มีผลต่อชีวิตของคนเรา และเราควรปฏิบัติตนให้มีความสุขได้อย่างไร  เด็กจะหมดความหวาดกลัวธรรมชาติของฤดูกาล เช่น เมื่ฝนตก ฟ้าร้อง ความหนาวเย็น ความร้อน ต่างมีเหตุผลที่มา เมื่อเด็กเข้าใจ เด็กก็จะมีความสุขที่จะอยู่กับธรรมชาติเหล่านี้
เด็กได้เข้าใจความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น การเลือกเครื่องใช้ การกินอาหาร การเดินทาง การรักษาสุขภาพ การเล่น การออกกำลังกาย ฯลฯ ให้สอดคล้องกับสภาพของอากาศในฤดูกาลนั้นๆ
  
ครูสอนเรื่องฤดูกาลให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร 

    ในช่วงปีหนึ่งๆมีฤดูกาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และเเตกต่างกันไปตามสภาพเเต่ละท้องถิ่น ครูจะจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สังเกตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น 
ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกติดต่อกันทั้งวัน การสนทนาของครูและเด็กเริ่มตั้งเเต่เช้า ด้วยคำถามชวนให้เด็กสังเกตและคิดว่า เราเเต่งกายอย่างไร เราใช้อะไรเป็นเครื่องกันฝน ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น ครูอาจชวนเด็กๆมายืนที่หน้าต่างมองผ่านกระจกไป เราเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างไร บางทีการที่ให้เด็กได้สัมผัสน้ำฝนที่ไหลตามรางน้ำหรือหยดน้ำจากชายคา ทำให้เด็กสนุกสนาน ได้รู้สึกถึงความเย็นฉ่ำของน้ำฝน
ในฤดูหนาว ลมหนาวพัดโชยมา ผิวกายของเด็กสัมผัสถึงความเย็น เด็กๆจะต้องสวมเสื้อกันหนาวเเตกต่างจากเสื้อกันฝน  ครูอาจนำเด็กๆไปสำรวจรอบๆโรงเรียน ดูใบไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบ ท้องฟ้ามีหมอกบางๆ เด็กจะต้องนอนห่มผ้าให้อบอุ่น
เมื่อมาถึงฤดูร้อน เด็กๆจะเห็นแสงเเดดส่องทั่วสนาม การยืนกลางเเสงเเดดจะร้อนมากขึ้นๆ เด็กๆจะกระหายน้ำมากในช่วงฤดูร้อน การสวมเสื้อผ้าจะต้องเลือกที่เบาบาง
* การสอนผ่านสภาพจริงจะเกิดประโยชน์โดยตรงให้เด็กจะรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพเเข็งเเรงส่วนการจัดกิจกรรมครูอาจกำหนดหน่วยการสอนตามช่วงฤดูกาล คือฤดุร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เด็กๆจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูให้ระบายสีท้องฟ้าที่เห็นในเเต่ละฤดูกาล หรือประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องเล่นในเเต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อน ประดิษฐ์ ว่าว กังหัน จรวด พัดลม ฯลฯ
ฤดูฝน ประดิษฐ์ หมวกกันฝน ฤดูหนาว ประดิษฐ์ ดอกไม้จากเศษวัสดุ เป็นต้น

  พ่อเเม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกาลอย่างไร 
ในเเต่ละฤดูกาล อากาศจะเปลี่ยนแปลง ประสาทสัมผัสของลูกจะส่งความรู้สึกให้เด็กรับรู้ได้ พ่อเม่อาจพูดคุยให้เด็กเข้าใจ คำว่า ร้อน หนาว เย็น เป็นอย่างไร  เมื่อเด็กได้รับสัมผัสจากสภาพจริง 
พาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้าน ดูสภาพอากาศเเต่ละฤดูกาล
จัดอาหารรับประทานในครัวเรือนตามผลผลิตในเเต่ละฤดูกาล
จัดเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับฤดูกาลเพื่อรักษาสุขภาพ
เล่านิทานจากหนังสือที่มีภาพประกอบ และมีเรื่องราวสะท้อนถึงฤดูกาลต่างๆ
ถ่ายรูปลูก และครอบท่ามกลางบรรยายกาศเเต่ละฤดูกาลสะสมไว้ เช่น ภาพว่ายน้ำที่น้ำตก  ภาพเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อน เป็นต้น
 เกร็ดความรู้สำหรับครู 

      เรื่องของฤดูกาลจะสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยควรมีความรู้เกี่ยวกับ
โรคที่มาในช่วงฤดูหนาว เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม และโรคหัดเยอรมัน 
โรคที่มาในช่วงฤดูฝนคือ โรค มือ เท้า ปาก โรคหวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก 
โรคที่มาในช่วงฤดูฝน คือ ไข้หวัดหน้าร้อน โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559



เนื้อหาในวันนี้

แผนการสอนหน่วย ข้าว

ครูได้ให้แต่ละกลุ่มนำเรื่องตามวันออกมานำเสนอเป็นรายกลุ่ม กลุ่มหน่วยข้าวได้วันพุธ

วัตถุประสงค์

1.เด็กสามารถรู้วิธีการรักษาต้นข้าวได้นอกเหนือจากวิธีเดิมๆได้
2.เด็กสามารถทำการรักษาต้นข้าวได้ด้วยตนเอง

สาระที่ควรเรียนรู้

     การรักษาต้นข้าวให้คงสภาพและมีคุณภาพดีอยู่นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น ฉีดยา 
ใช้หุ่นไร่กา เก็บหอยเชอรี่จากใบข้าว

ประสบการณ์สำคัญ
    
     ด้านร่างกาย : การแสดงออกทางด้านกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
     ด้านอารมณ์ - จิตใจ : การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
     ด้านสังคม :  การเปลี่ยนแปลงความคิดกับการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     ด้านสติปัญญา : การแสดงความรู้ออกด้วยคำพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง


กิจกรรมการเรียนรู้

     ขั้นนำ
1.ครูพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับการรักษาต้นข้าวอย่างไรให้ไม่มีแมลงมากัดกิน หรือให้คงสภาพเดิม

     ขั้นสอน
2.ครูใช้คำถามๆเด็กๆว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้เก็บหรือรักษาต้นข้าวได้นานๆโดยไม่มีแมลงมาเกาะมากัด
3.ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์การทำน้ำหมักจากสมุนไพร และสาธิตวิธีการทำทีละขั้นตอน
4.แบ่งกลุ่มเด็กๆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเตรียมวัสดุ , กลุ่มหั่นสมุนไพร , กลุ่มผสมส่วนต่างๆ 
5.ให้เด็กลงมือทำและคอยให้ความช่วยเหลือเด็กอยู่ห่างๆ
6.ทำน้ำหมักสำเร็จ

     ขั้นสรุป
7.เด็กและครูพูดถึงสิ่งที่ได้ในวันนี้


สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

1.ตะไคร้
2.ใบสะเดา
3.ข่า
4.น้ำเปล่า
5.กะละมัง
6.มีด

การวัดและกาประเมิน

แบบบันทึกการสังเกต

การบูรณาการ

1.วิทยาศาสตร์
2.คณิตศาสตร์






การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำกิจกรรมการสอนนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กได้ในอนาคต


ประเมินตนเอง
- มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม และสนุกสนานกับกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆมีความสนุกสนานในการทำและสามัคคี

ประเมินอาจารย์
- ให้ความรู้เพิ่มเติมที่ดีและสนับสนุนความรู้นักศึกษา

คำศัพท์

1. Future             ฟิว เจอร์              อนาคต

2.Lemon grass    เล ม่อน กราส      ตะไคร้

3.Galangal          กา แรง เกิล         ข่า

4.Knife               ไนซ์                     มีด

5.Basin                บา ซิล                กะละมัง










บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559



              

เนื้อหาในวันนี้

เป็นการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ในวันนี้มีครูชาวต่างชาติออสเตรียมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยคณะศึกษาศาสตร์ของเรา จึงต้องเตรียมการต้อนรับไว้อย่างดี ซึ่งเอกปฐมวัยได้เตรียมการเคลื่อนไหวเป็นเพลงผีเสื้อ หรือ Butterfly นั้นเอง






เพลงสำหรับการสอนเคลื่อนไหว

Fly Fly Butterfly
Fly, fly, fly the butterfly,
In the meadow is flying high
In the garden is flying low
Fly, fly, fly the butterfly.




Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
then We sit down


Flower Bloom
I’m breathing in
I’m breathing out as flowers bloom
The mountain’s high

The river as sign.
Here and there i breath i fly



การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนได้
- สามารถรู้หลักการของการจัดกิจกรรมได้

ประเมินตนเอง
- มีความสนุกในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆสนุกสนานอย่างมาก

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์สอนสนุกสนานมาก

คำศัพท์

Butterfly  บัท เทอ ฟาย  ผีเสื้อ

High        ไฮท                สูง

Circle      เซอ เคิล         วงกลม

Bloom     บลูม               เบ่งบาน

River      รี เว่อร์            แม่น้ำ



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาในวันนี้

ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอคลิปวิดีโอที่ได้ไปจัดทำกันมา กลุ่มของดิฉัน คือ รถหลอดด้าย  
และยังมีกลุ่มของเพื่อนๆอีกคือ  

1.พลังปริศนา
2.ขวดบ้าพลัง
3.ลูกข่างนักสืบ


                      
รถหลอดด้าย




พลังปริศนา



                      

ขวดบ้าพลัง




ลูกข่างนักสืบ



ข้อเสนอแนะ
- ให้เติมตัวอักษร ข้างล่างวิดิโอเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นและคำนึงถึงผู้ที่หูหนวก
- ให้เห็นหน้าผู้ที่สาธิตการทำเพื่อความสวยงาม




หน่วยข้าวบูรณาการทั้ง 6 วิชา


การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิดีโอนี้ไปใช้สอนเด็กได้อย่างถูกต้อง
- สามารถนำแนวการสอนนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสื่อต่างๆได้

ประเมินตนเอง
- มีความพยายามในการตั้งใจทำงาน
ประเมินเพื่อน
- มีความสามัคคี ช่วยกันคิดงานกลุ่มจนสำเร็จ
ประเมินอาจารย์
- เข้าสอนตรงเวลา ให้ความรู้แน่น

คำศัพท์

Reel           รีลย์             หลอดด้าย

Bottle        บอท เทิล    ขวดน้ำ

Top           ท้อป            ลุกข่าง

Detective  ดี เทค ทีฟ   นักสืบ

Power       พาว เวอร์     พลัง






บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559





เนื้อหาในวันนี้

ในวันนี้ครูได้สอนทำ Mind Mapping ที่ถูกต้องโดยการแตกแขนงเป็นกิ่งไม้  และต้องจัดกิจกรรมที่บูรณราการที่สอดคล้อง และมีความสัมพันธ์กันในหน่วยนั้นๆ   มี 5 หัวข้อ คือ

1.ประเภท , ชนิด , สายพันธ์
2.ลักษณะ
3.การแปรรูป ,การถนอมอาหาร
4.ประโยชน์
5.ข้อควรระวัง





ในกลุ่มดิฉันเป็นหน่วยข้าว


แบ่งหัวข้อออกได้คือ

1.ประเภท  ข้าวเจ้า , ข้าวเหนียว
2.ลักษณะ รูปร่าง , สี , พื้นผิว
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์


และนี้คือภาพหน่วยต่างๆของกลุ่มเพื่อน






การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปเป็นแนวคิดหลักในการทำสื่อการสอนเด็กได้ในอนาคต
- สามารถเป็นตัวบ่งชี้ หรือข้อจำกัดในการทำสื่อได้
-  สามารถทำให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับทำสื่อมากขึ้น

ประเมินตนเอง
- มีความตั้งใจเรียน และใฝ่หาความรู้

 ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆมีความตั้งใจทำงานจนเสร็จในคาบ

ประเมินอาจารย์
- มีความกระตือรือร้นมากในการสอน ตรงต่อเวลา


คำศัพท์

Rice       ไรซ์            ข้าว

Banana  บา นา น่า   กล้วย

Orange  ออ เร็นซ์     ส้ม

Water    วอ เทอซ์    น้ำ

Chicken  ชิค เค้น    ไก่